เปิดวิธียื่นภาษีคริปโทเคอร์เรนซี 2565 เช็กที่นี่ ใครบ้างต้องจ่าย

เปิดวิธีการยื่นภาษีคริปโทเคอร์เรนซี ร่วมกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รอบปีภาษี 2564 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง-ยื่นอย่างไร

การลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี และโทเค็นดิจิทัล หรือสินทรัพย์ดิจิทัล มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และรูปแบบการทำธุรกรรมต่าง ๆ

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีจำนวนบัญชีผู้ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลสูงถึง 1,979,847 บัญชี เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่มีจำนวนบัญชีหลักหมื่น

ขณะที่ 31 มกราคม 2565 กรมสรรพากรเผยแพร่คู่มือการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีของการเสียภาษีคริปโทเคอร์เรนซี และโทเค็นดิจิทัล ด้วยรายละเอียดความยาว 32 หน้า เพื่อหวังว่าคู่มือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ชัด โดยจะมีเนื้อหาครอบคลุม

คู่มือดังกล่าวมีการชี้แจงวิธีการคำนวณเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีและโทเค็นดิจิทัล ไว้ 5 ประเภท ได้แก่

    1. การจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเค็นดิจิทัล
    2. การขุดคริปโทเคอร์เรนซี
    3. การได้รับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเค็นดิจิทัล เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง
    4. คริปโทเคอร์เรนซี/โทเค็นดิจิทัล จากการให้หรือได้รับเป็นรางวัล
    5. ได้รับผลประโยชน์ หรือผลตอบแทนจากการถือครองโทเค็นดิจิทัล และคริปโทเคอร์เรนซี

การทำความเข้าใจรูปแบบทางธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง “ประชาชาติธุรกิจ” ชวนดูวิธีการคำนวณ เอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการจ่ายภาษีคริปโทเคอร์เรนซี

สามารถดาวน์โหลด และอ่านคู่มือการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีของการเสียภาษีคริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล ฉบับเต็มคลิกที่นี่

วิธีคำนวนต้นทุน

  1. คำนวณต้นทุนด้วย 2 วิธี
    • ก่อนเข้า-ออก (FIFO) คือ การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเค็นดิจิทัล โดยคริปโทเคอร์เรนซี/โทเค็นดิจิทัล ที่ซื้อมาก่อนจะขายออกไปก่อนตามลำดับ จึงเป็นผลให้รายการ คริปโทเคอร์เรนซี/โทเค็นดิจิทัลที่เหลืออยู่ ณ วันสุดท้ายเป็นคริปโทเคอร์เรนซี/โทเค็นดิจิทัลที่ซื้อมาครั้งหลังสุด
    • ต้นทุนถั่วเฉลี่ย (Moving Arrange) ตัวอย่างเช่น วันที่ 1 ก.พ. ซื้อคริปโท A จำนวน 1 เหรียญในราคา 10,000 บาท/เหรียญคริปโท ต่อมาในวันที่ 3 ก.พ. ซื้อเพิ่มอีก 1 เหรียญในราคา 12,000 บาท ถ้าใช้วิธี “เข้าก่อน-ออกก่อน” (FIFO) ในการคิดต้นทุนเมื่อจะขายออก 1 เหรียญ จะใช้ราคาของเหรียญที่ซื้อเข้ามาก่อน นั่นคือ 10,000 บาท
  2. ยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
  3. นำผลขาดทุนมาหักลบกำไรได้

ใครต้องยื่นภาษีคริปโทบ้าง

  • ผู้มีเงินได้ 3 ประเภท
    • เงินได้จากการโอนหรือขายคริปโทเคอร์เรนซี เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
    • เงินได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซี ที่ได้จากการขุด
    • เงินได้จากผลตอบแทนใด ๆ จากการนำคริปโทเคอร์เรนซี ไปหาประโยชน์

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนยื่น

ผู้มีเงินได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเค็นดิจิทัล ต้องประเมินตนเองว่ามีกำไรจากการขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเค็นดิจิทัล เป็นจำนวนเงินเท่าไร และควรเตรียมหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ต้นทุนในการซื้อและราคาขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเค็นดิจิทัล เพื่อประกอบการพิสูจน์กำไรของผู้มีเงินได้หลักฐานที่ระบุถึง การทำธุรกรรมการซื้อ หรือขาย

  • จำนวนที่ซื้อ หรือขาย
  • มูลค่าของคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเค็นดิจิทัล ณ วันที่ทำธุรกรรม
  • อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง
  • รายละเอียดผู้ซื้อหรือผู้ขาย สำหรับการซื้อ/ขาย คริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเค็นดิจิทัล (ถ้ามี)
  • หลักฐานใบกำกับภาษีหรือ ใบเสร็จค่าใช้จ่าย
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)

วิธียื่นภาษีภาษีคริปโท

  • เข้าเว็บไซต์ กรมสรรพากร : ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
  • เลือกการชำระภาษี ยื่นในแบบออนไลน์
    • ใส่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน
  • ระบบจะให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อขอรับรหัส OTP
  • เลือกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90
  • ตรวจสอบชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลต่าง ๆ หากข้อมูลผิดสามารถแก้ไขได้ ถ้าถูกให้กดถัดไป
  • เลือกยื่นแบบแสดงรายการเงินได้บุคคลธรรมดา จากรายได้จากการลงทุนดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใด ๆ จากคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเค็นดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน (มาตรา 40 (4))
  • เลือก ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี่ หรือโทเค็นดิจิทัล กรอกเงินทั้งหมด ภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากนั้นใส่เลขผู้จ่ายเงินได้ และกดยืนยัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance

admin